วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สมบัติของแก๊ส

สมบัติทั่วไปของแก็ส สมบัติทั่วไปของแก็ส ได้แก่


        1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
        2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย เช่น แก๊สออกซิเจน โมลมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1บรรยากาศ (STP)
        3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก เช่น ไอน้ำ มีความหนาแน่น 0.0006 g/cm3แต่น้ำมีความแน่นถึง 0.9584 g/cm3 ที่100 C
        4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
        5. แก็สต่างๆ ตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
        6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(Cl2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น

สมบัติของของเหลว

สมบัติทั่วไปของของเหลว
1.) ของเหลวมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ
2.) ของเหลวประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่ค่อยเห็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อย
3.) โมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกันมากกว่าก๊าซ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่า
4.) ปริมาตรของของเหลวเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
5.) ของเหลวส่วนใหญ่มีความหนาเเน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของเเข็ง
6.) โมเลกุลของของเหลวสามารถแพร่กระจายได้ แต่ในอัตราที่ช้ากว่าโมเลกุลของก๊าซ เพราะของเหลวมีความหนา เเน่นจึงถูกดึงดูดโดยโมเลกุลข้างเคียง เเละมีบริเวณที่จะเคลื่อนที่จำกัดต้องปะทะโมเลกุลอื่นตลอดทาง
7.) เมื่อนำของเหลวสองชนิดที่ไมทำปฏิกิริยากันมาผสมกันปริมาตรรวมจะเท่ากับผลบวกของปริมาตรสารทั้งสอง
8.) ของเหลวสามารถระเหยได้ทุกๆอุณหภูมิ
10.) ของเหลวเดือดได้เมื่อของเหลวนั้นมีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศ
11.) ของเหลวมีแรงดึงผิว(Surface tension) และความหนืด(Viscosity) เพราะโมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกัน จึงดึงดูดกัน และของเหลวใดยิ่งมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก จะยิ่งมีแรงดึงผิวมาก

แรงตึงผิว (Surface tension)

สมบัติของ ของแข็ง

การคำนวณปริมาณสารจากสมการเคมี 
  1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
                     2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
                     3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
                     4. สามารถระเหิดได้
                        โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา

การคํานวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี

       การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ  เราเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี  สิ่งที่แสดงอยู่ในสมการเคมีจะประกอบด้วยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ  รวมทั้งภาวะต่าง ๆ
ของการเกิดปฏิกิริยาด้วย  สมการเคมีจะช่วยให้เราคิดคำนวณค่าต่าง ๆ  ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เช่น  มวลหรือน้ำหนักของสารเคมีที่ถูกใช้ไป  หรือที่เกิดขึ้นใหม่
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานและอื่น ๆ  การคำนวณหาปริมาณสารจากสมการเคมีเป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาเคมีในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
แต่ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ให้ดีเสียก่อน
                 
ระบบกับสิ่งแวดล้อม (system and surrounding) 
            ระบบ  หมายถึง  สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยอาจเป็นการเปลี่ยนสถานะ  การละลายหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็ได้

           สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ของสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น  ซึ่งก็คือทุกสิ่งทุกอย่างที่สัมผัสอยู่กับระบบ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

มวลอะตอม

มวลอะตอม
เฉลยแบบฝึกหัด 4.1 ข้อ 7 และ 8

7.1.             ธาตุ Eu  พบในธรรมชาติ  2  ไอโซโทป  คือ  Eu151  มีมวลอะตอมเท่ากับ  150.9196  และ  Eu153
มีมวลอะตอมเท่ากับ  152.9209  ถ้ามวลอะตอมเฉลี่ยของ  Eu  เท่ากับ  151.9600  จงหาประมาณ
ร้อยละของ  Eu  แต่ละไอโซโทป
                สมมุติให้  ปริมาณร้อยละของ  Eu151  ในธรรมชาติ  =  X
                ดังนั้น  ปริมาณร้อยละของ  Eu153  ในธรรมชาติ       =  100 – X

                มวลอะตอมของ  Eu   =  [(X x 150.9196) + (100 - X) x 152.9209] / 100

                                                        =  (150.9196X + 15292.09 - 152.9209) / 100
                                         X      =  48.01397
                ปริมาณร้อยละของ  Eu151  ในธรรมชาติ   =  48.01379
                ปริมาณร้อยละของ  Eu153  ในธรรมชาติ   =  51.98621


8.1.             ธาตุเงินที่พบในธรรมชาติมี  2  ไอโซโทปคือ  Ag107  มีมวลอะตอมเท่ากับ  106.905  และ  Ag109  
มีอยู่นธรรมชาติร้อยละ  51.82  ถ้าธาตุเงินมีมวลอะตอมเฉลี่ยเท่ากับ  107.868  จงคำนวณหา
มวลอะตอมของ  Ag109
                ให้มวลอะตอมของ    Ag109       =  X
                ปริมาณร้อยละของ   Ag109        =  51.82
                ดังนั้น ปริมาณร้อยละของ  Ag107   =  100 – 51.82  = 48.18

                มวลอะตอมของ  Ag                      =   [(48.18 x 106.905) + (51.82 x X)] / 100

                                                   107.868     =  (5150.6829 + 51.82) / 100
                                                         X         =  109
                                มวลอะตอมของ Ag109  เท่ากับ  109  ตอบ